รายงานการนิเทศภายในของโรงเรียน

บันทึกของผู้นิเทศ บันทึกของผู้รับการนิเทศ รับทราบ/บันทึกรับรอง
วันนี้ข้าพเจ้า นายคัมฏีศ์ ศรีธนัชโกสิณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเนินมะค่า ได้มานิเทศการจัดการเรียนการสอน การจัดชั้นเรียนและสภาพแวดล้อมต่างๆของชั้นอนุบาล 1-3 พบว่าครูได้ทำการสอนเขียนและระบายภาพตัวอักษร นักเรียนให้ความสนใจเรียนดี มีมารยาททักทายผู้นิเทศดี ข้อเสนอแนะ ควรจัดการเรียนการสอนส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้กับเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก โดยมีหลักการและแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้ - จัดประสบการณ์เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลาย - เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย - จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก - จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ (ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560) จัดกิจกรรมในรูปแบบ 6 กิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบการบูรณการ พัฒนาพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รูปแบบของการจัดกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเล่นเสรีหรือเล่นมุม กิจกรรมการเสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เกมการศึกษา ในการจัดประสบการณ์ ได้มีการนำเทคนิคและนวัตกรรมมาปรับใช้แบบผสมผสานผ่าน 6 กิจกรรมหลัก โดยดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน (BBL: Brain-Based Learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย โดยพัฒนาสมองทั้งสองซีกให้สมดุลทั้งด้านซ้าย และด้านขวา 2. การสอนแบบภาษาธรรมชาติ (Whole Language) เช่นกิจกรรมการส่งเสริมการอ่าน การเปิดมุมเขียนอิสระ การเล่าเรื่อง (Shoe and tell) การเล่าข่าว การอธิบายเกี่ยวกับผลงาน 3. การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึกตามหัวเรื่องที่เด็กโดยจะจัดการเรียนรู้ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง โดยจะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับ หัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม 4. หลักสูตรแบบเปิดกว้างของมูลนิธิไฮสโคปนำแนวความคิดมาใช้ ได้แก่ การให้เด็กมีส่วนเสนอความคิดตามความสนใจในเรื่องของสาระที่ควรรู้ จัดกิจกรรมที่มีลักษณะเน้นกระบวนการ วางแผน ปฏิบัติ ทบทวน (Plan Do Review) การใช้คำถามปลายเปิด (Open End Question) การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Active Learning) ที่ประกอบด้วยสื่อหลากหลาย การได้ลงมือสัมผัสกระทำวัตถุ การเรียนภาษาที่มาจากเด็กและการสนับสนุนของผู้ใหญ่ โดยเด็กได้เรียนรู้จากห้องเรียนพิเศษ ห้องบล็อกต่อเติมฝันสร้างสรรค์จินตนาการ 5. STEM Education มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และการเรียนรู้ โดยมีการปูพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ มีการบูรณาการศาสตร์ทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ทั้งในด้าน ธรรมชาติของศาสตร์ แนวคิด เนื้อหาทักษะกระบวนการ และเจตคติ โดยเรียนรู้ผ่านการบูรณาการ ท้าทายผู้เรียน กระตุ้นโดยใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning และเชื่อมโยงกับชีวิตจริง และสุดท้าย ให้จัด 5 ส สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในให้สะอาดและเป็นระเบียบ ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจหากมีสิ่งใดที่ต้องการช่วยเหลือให้แจ้งมา
นายคัมฎีศ์ ศรีธนัชโกสิณ
ผู้อำนวยการโรงเรียน
16 กันยายน 2563
รับทราบค่ะ และจะดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง วิธีดำเนินการในการจัดการเรียนการสอน ให้ดีขึ้นค่ะ
นางศิริกันยา พูลสวัสดิ์
ครู
31 มีนาคม 2564

ทราบ
นายคัมฎีศ์ ศรีธนัชโกสิณ
ผู้อำนวยการโรงเรียน
ดาวโหลดรายงานในรูปแบบ PDF คลิกที่นี้