รายงานการนิเทศโดย ศึกษานิเทศก์

บันทึกของผู้นิเทศ บันทึกของผู้รับการนิเทศ รับทราบ/บันทึกรับรอง
วันที่ 21 ธันวาคม 2563 นายธีรภัทร์ ภาวะรีย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 พร้อมด้วย อาจารย์ณัฐกานต์ พึ่งกุศล จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ นางปาริชาติ เข่งแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามฯ นางรังสิมา บัวทอง และ นางสาวพัชรินทร์ วาวงศ์มูล ศึกษานิเทศก์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 ได้นิเทศติดตาม โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องรุ่นที่ 2 (จิตศึกษา) โครงการ TSQP เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ ภาคเช้า ณ โรงเรียนชุมชน บ้านโภชน์ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการนิเทศติดตามพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ Whole School Approach สามารถบริหารจัดการตนเอง เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยมีการลงพื้นที่โค้ชโรงเรียน ครั้งที่ 2 ผลการดำเนินงานโรงเรียน ดังต่อไปนี้ ความงอกงามของนักเรียน >> นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง รู้ตัวตนของตนเอง รู้หน้าที่ รู้เวลา มีระเบียบวินัยต่อตนเอง และคนรอบข้าง ของตนเองว่าต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน และใฝ่รู้ ใฝ่เรียนมากขึ้นกว่าเดิมในกิจกรรมหรือภาระงานที่นักเรียนรับผิดชอบ >> นักเรียนจะนิ่ง อดทนและรอคอย รู้ตัวเอง ช่วงการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง >> นักเรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจ และใส่ใจในการทำกิจกรรมช่วงจิตศึกษา (ภาคเช้า) Body scan (ภาคบ่าย) และการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม PBL/AL >> นักเรียนรู้จักวางแผนในการทำงาน ทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ได้อย่างมีความสุข >> นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลประกอบเหตุผลที่หลากหลายมากขึ้น >> นักเรียนเป็นผู้นำ เป็นผู้ตามที่ดี ฟังความคิดเห็น และแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในการทำงานกลุ่ม ความงอกงามของครูผู้สอน >> ครูพูดคุยกันมากขึ้น แชร์ความงอกงาม และปัญหา ที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ ช่วงพักทานอาหารหรือในสายชั้นของตัวเอง และปรับกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ตัวเองทำได้แก้ปัญหาได้ให้กับเพื่อน เพื่อนำไปปรับใช้กับนักเรียนห้องอื่น >> ครูใจเย็น ปฏิบัติกิจกรรมหรือการสอนช้าลงและสังเกตนักเรียนแต่ละมากขึ้น เข้าใจและวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลได้ >> ครูใช้น้ำเสียงที่นิ่มนวลและไม่เสียงดัง รับฟังความคิดเห็นของนักเรียนทุกคนที่แสดงความคิดเห็น >> ครูเตรียมการจัดการเรียนการสอน เตรียมสื่อการสอน ในแต่ละหน่วย PBL/ALเพื่อสอนในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ มีการปรับเนื้อหาและกิจกรรมบางส่วนให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนและห้องเรียน PBL/AL >> ครูได้ PLC กับเพื่อนกลุ่มสาระ และเพื่อนร่วมสายชั้น รวมถึงการ PLC สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และแลกเลี่ยนเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการสอนแต่ละสัปดาห์ >> ครูเข้าใจและใช้วิธีการในการปรับการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคน และแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละวันได้พร้อมกับนักเรียน ขอขอบคุณท่านผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และนักเรียน ที่ให้เข้าร่วมสังเกตการสอน และให้ความร่วมมือและให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง
นางสาวพัชรินทร์ วาวงศ์มูล
ศึกษานิเทศก์
21 ธันวาคม 2563


ดาวโหลดรายงานในรูปแบบ PDF คลิกที่นี้