รายงานการนิเทศโดย ศึกษานิเทศก์

บันทึกของผู้นิเทศ บันทึกของผู้รับการนิเทศ รับทราบ/บันทึกรับรอง
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 นายธีรภัทร์ ภาวะรีย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 พร้อมด้วย อาจารย์สมฤทัย เย็นใจ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ นางรังสิมา บัวทอง และ นางสาวพัชรินทร์ วาวงศ์มูล ศึกษานิเทศก์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 ได้นิเทศติดตาม โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องรุ่นที่ 2 (จิตศึกษา) โครงการ TSQP เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ โรงเรียนชุมชนบ้านท่าเสา อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการนิเทศติดตามพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ Whole School Approach สามารถบริหารจัดการตนเอง เพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยมีการลงพื้นที่โค้ชโรงเรียน หลังจากได้รับการอบรม Main course ผลการดำเนินงานโรงเรียน ดังต่อไปนี้ 2. การกำหนด School Goal และปรับเปลี่ยนวิถี โรงเรียนได้ขยายผล PLC หลังจากการอบรม Main Course ให้กับผู้บริหารและครู ดังนี้ - การปรับสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน ร่มรื่น สะอาด และปลอดภัย - กำหนด School Goal วิสัยทัศน์เป้าหมายที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่นักเรียน ครูและโรงเรียน - ปรับตารางสอนที่มีการแทรกระยะเวลาทำจิตศึกษาวันละ3 เวลา กำหนดชั่วโมง PBL /AL รายวิชา และกำหนดการPLC สัปดาห์ละ 1-2 วัน (ทุกคน) และPLC สายชั้นและกลุ่มสาระ และจะปรับให้มากหรือน้อยหลังจากการจัดการเรียนการสอน - กำหนดให้ครูประจำชั้น เป็นผู้นำกิจกรรมจิตศึกษาทั้ง 3 ช่วงเวลา และจะมีครูเข้าไปช่วยจะ เป็นครูที่สอนต่อในเวลาถัดจากทำกิจกรรมจิตศึกษาในแต่ละวัน - กำหนดครูผู้สอน และรายวิชาที่จะจัดกิจกรรมแบบ PBL และได้จัดเตรียมแผนการจัด กิจกรรม PBL /ALครูนำมาศึกษาเพื่อวางแผนในการจัดการเรียนการสอน - ปรับเปลี่ยนให้ห้องเรียนมีพื้นที่ว่าง ในการเรียนรู้แบบกลุ่ม แบบคู่แบบเดี่ยว และใช้พื้นที่ได้ อย่างคุ้มค่า - โรงเรียนได้ออกคำสั่ง และกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมจิต ศึกษา หน่วยบูรณาการ PBL/AL รายวิชา การPLC และการกำหนด School Goal แล้ววางวิถีของโรงเรียนตนเอง ๒. การใช้นวัตกรรมจิตศึกษา ดังนี้ 1) การใช้นวัตกรรมจิตศึกษา - โรงเรียนการกำหนดช่วงเวลาทำจิตศึกษา วันละ 3 เวลา เช้ากิจกรรมจิตศึกษา บ่าย Body Scan และก่อนกลับบ้าน AAR - ทุกชั้นเรียนทำกิจกรรมจิตศึกษา ครูเริ่มปรับกิจกรรม และการจัดการเรียนการเรียนการ สอน และเริ่มใช้กิจกรรมจิตศึกษา 2 สัปดาห์ก่อนปิดภาคเรียนที่ 1 ครูเริ่มจัดกิจกรรม Body Scan และAAR ก่อนนักเรียนกลับบ้าน - ผู้บริหารและครูเริ่มทำ PLC เพื่อปรับแผนจิตศึกษา และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และได้แลกเปลี่ยนกันถึงผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน 2) เห็นการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารและครู การพูดด้วยน้ำเสียงเบา ใช้จิตวิทยาเชิงบวก ปรับพฤติกรรมนักเรียนเชิงบวก มีการสร้างทักษะความพร้อมให้กับผู้เรียน เช่น Brain Gym การสร้างสภาวะจิต มีทักษะการตั้งคำถามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายกิจกรรมช่วงจิตศึกษา และมีทักษะการจัดกิจกรรมครบขั้นตอนและควบคุมเวลาได้ ทักษะการ Body Scan และทักษะ AAR 3) เห็นความเปลี่ยนแปลงหรือความงอกงามต่อผู้เรียน (ดำเนินการ 2 สัปดาห์ก่อนปิดภาคเรียน) นักเรียนมีความตั้งใจ จดจ่อและใคร่ครวญ มีการกล้าแสดงออก กล้าตอบคำถามที่ตัดสินเชิงจริยธรรมบ้าง มีการควบคุมตนเองในการทำกิจกรรม และสามารถนำตนเองได้ 3. การใช้นวัตกรรม PBL/AL - โรงเรียนชุมชนบ้านท่าเสาใช้นวักตกรรม PBL ชั้นอนุบาล- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - ครูมีความพร้อม เข้าใจในนวัตกรรมจิตศึกษา และ PBL และ AL การศึกษาและออกแบบและการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครู มีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้ ทักษะครูโค้ช ครูฟา เช่นการตั้งคำถามกระตุ้นการ reflection การใช้เครื่องมือคิด 4. การใช้นวัตกรรม PLC - ได้วางแผนกำหนดการทำ PLC ร่วมกัน อาทิตย์ละ 2 ครั้ง และสายชั้นกลุ่มสาระ หรือสายชั้นกำหนดให้มีผู้ที่เป็น Facilitator และ Note taker การสร้างความพร้อมก่อนทำ PLC เช่นการเตรียมสภาวะจิต หรือ Brain Gym แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างทั่วถึง มีการนำแผนจิตศึกษา แผน PBL/AL มาช่วยกันปรับในวง PLC มีการสนับสนุนในการทำ PLC อย่างเป็นระบบ - ผู้บริหารและครูขอให้สำนักงานเขตพื้นที่ขยายผลและการทำความเข้าใจของผู้อำนวยการและครู ในการวัดและประเมินผล โปรแกรม Q-info ขอบพระคุณท่านผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับใบอนุญาต คณะครู ที่ร่วม PLC ในการนิเทศติดตามการโค้ช ครั้งที่ 1 ให้ความร่วมมือและการต้อนรับอย่างดียิ่ง
นางสาวพัชรินทร์ วาวงศ์มูล
ศึกษานิเทศก์
24 พฤศจิกายน 2563


ดาวโหลดรายงานในรูปแบบ PDF คลิกที่นี้