รายงานการตรวจเยี่ยมโดย สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3

บันทึกของผู้นิเทศ บันทึกของผู้รับการนิเทศ รับทราบ/บันทึกรับรอง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ข้าพเจ้านายกัน อินพร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพลวง พร้อมด้วย นางอัจฉรา สายคุณากร นักจัดการงานทั่วไป มานิเทศ ติดตาม ความพร้อมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล ในวันเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ผลการนิเทศ ติดตามความพร้อมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการและความปลอดภัย การบริหารจัดการภายในโรงเรียนมีการจัดประชุมครูและบุคลากรก่อนเปิดภาคเรียน มีการจัดชั้นเรียนมอบหมายงานที่ชัดเจน มีการประสานงานเครือข่ายภายในและภายนอก อาคารสถานที่ได้รับการปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องเรียนมีความปลอดภัย มีแสงสว่าง ห้องน้ำและระบบน้ำประปา สภาพแวดล้อมสะอาด สวยงามมีสำรวจจุดอันตรายในบริเวณโรงเรียนและจัดทำป้ายเตือน โรงเรียนมีการประสานหน่วยงานอื่นเพื่อตรวจสุขภาพนักเรียน มีแผนเผชิญเหตุ และทำประกันชีวิตให้ครูและนักเรียนทุกคน ด้านห้องเรียนคุณภาพ กายภาพภายในห้องเรียนมีสัญลักษณ์สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ป้ายบุคคลสำคัญ ป้ายชื่อครู ห้องเรียน สถิตินักเรียนยังไม่เป็นปัจจุบันเนื่องจากจำนวนนักเรียนย้ายเข้า ออกอยู่ มีคำขวัญคติพจน์ รายชื่อสมาชิกในห้องเรียน ชั้นวางรองเท้า ห้องเรียนสะอาด สวยงาม ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน ด้านนักเรียนมีการแต่งกายสะอาด เรียบร้อย มีอุปกรณ์การเรียนครบทุกคน การดำเนินงานจุดเน้นและนโยบาย สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 ด้านความปลอดภัย 1.โรงเรียนดำเนินการจัดสถานที่ให้สะอาด จัดทำป้ายข้อควรระวังด้านความปลอดภัยในจุดอันตรายต่างๆ รวมถึงสภาพแวดล้อม ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องใช้ให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน 2.โรงเรียนมีการประสานงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการความปลอดภัยทางถนน มีการชี้แจงเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนและการปฏิบัติตนในโรงเรียนในการประชุมผู้ปกครอง ด้านโอกาส 1.โรงเรียนมีการติดตามนักเรียนให้กลับมาเข้าเรียน เพิ่มโอกาสทางการศึกษาโดยการจัดหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียนยากจน ทั้งทุนจาก สพฐ.และภาคเอกชน ด้านคุณภาพ 1.โรงเรียนดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ยกระดับคุณภาพการศึกษาของเด็กปฐมวัยโดยมีการจัดหาสื่อการสอนสำหรับนักเรียนปฐมวัย มีการปรับปรุงห้องเรียนให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนและส่งครูเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง 2. มีการแก้ไขภาวะถอดถอยทางการเรียนรู้ ( Learning Loss) อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นของผู้เรียน โดยมีการขยายห้องเรียนเพื่อลดจำนวนนักเรียนให้ครูดูแลเป็นรายบุคคล จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับโครงการ กิจกรรมต่างๆ 3.การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning ) เพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยครูผู้สอนมีการจัดแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้และส่งครูเข้ารับการอบรม 4.การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการคิดและพหุปัญญา ศิลปะ ดนตรี กีฬา อาชีพและเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและพหุปัญญา กิจกรรมต่างๆ 5.การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและใช้แหล่งเรียนรู้เป็นห้องเรียนบูรณาการ มีการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองตามนโยบาย สพฐ. 6.การส่งเสริม ปลูกฝั่งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมที่ดีของผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมอบรมธรรมมะ และกิจกรรมอื่นๆ 7.มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านประสิทธิภาพ 1.โรงเรียนนำข้อมูลระบบสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลายด้าน เช่น ด้านวิชาการ 2. ครูใช้สื่อ เทคโนโลยี อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง มีการลงทะเบียนการใช้สื่อ 3. โรงเรียนดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และมีกระบวนการนิเทศภายใน มีการนิเทศภายอย่างเป็นระบบ 4.โรงเรียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและผลการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและตรงเวลา โดยประชาสัมพันธ์ทางเฟสบุ๊ค เว็ปไซต์โรงเรียนและเสียงตามสาย สรุปผลการนิเทศความพร้อมและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา จุดเด่น โรงเรียนมีความพร้อมในการเปิดภาคเรียนอย่างดี โรงเรียนต้องการความช่วยเหลือ จาก สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 ของบประมาณในการซ่อมแซมอาคารเรียน
นางอัจฉรา สายคุณากร
นักจัดการงานทั่วไป
15 พฤษภาคม 2566
ทราบ -จะนำข้อเสนอเเนะถือปฏิบัติให้เกิดผลดียิ่งขึ้นต่อไป
นางอารมณ์ ผัดพิทักษ์กุล
ครู
2 มิถุนายน 2566



ดาวโหลดรายงานในรูปแบบ PDF คลิกที่นี้